วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

สัตว์ในวรรณคดี



มังกร

มังกรเป็นสัตว์ในวรรณคดีมีรูปร่างลักษณะคล้ายงูจัดอยู่ใประเภทสัตว์เลื้อยคลาน
ตำนานยุโรป มังกรเป็นสัตว์อันตรายมีอำนาจน่าสะพรึงกลัว
ในจินตนาการของมนุษย์ มังกรจึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของนักรบ
วีรบุรุษทั้งหลายจะมีการฆ่ามังกรเพื่อขึ้นเป็นกษัตริย์ มังกรจึงเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ เช่น
กษัตริย์อาเธอร์ซึ่งมีชื่อสกุลว่า
pendragon มีความหมายว่าศีรษะมังกรหรือหัวหน้ามังกรมงกุฏ
ของกษัตริย์อาเธอร์ก็เป็นรูปมังกร
ไม่ว่าจะเป็นตำนานของยุโรปหรือเอเชียจะต้องมีเรื่องที่เกี่ยวกับมังกรอยู่ในตำนานด้วย
มังกรมีรูปร่างลักษณะหลายอย่างเเตกต่างกันไปเเล้วเเต่ความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น
จุดเด่นของมังกรคือเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ลำตัวยาวมีพละกำลังมากบางครั้งอาจพ่นไฟหรือบินได้
มังกรที่พบในตำนานยุโรปเเละของทางเอเชียนั้น ค่อนค่างจะเเตกต่างกัน
โดยเฉพาะคติของจีนที่มักถือว่ามังกรเป็นเทพเจ้า
เเละเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคล สัญลัญษณ์ของจักรพรร-
ดิ(ซึ่งเป็นสมมมติเทพ)เเต่ทางยุโรปนั้นมักถือมังกรว่าเป็นสัญลักษณ์เเห่งความชั่วร้าย



ไดโนเบิร์ด

ในปีพ.ศ.1861ซากดึกดำบรรพ์ที่สร้างความตกตะลึกปรากฏที่เหมืองในประเทศเยอรมนี มันเป็นโครงกระดูกที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างสวยงามของสิ่งมีชีวิตที่คล้ายไดโนเสาร์ขนาดเล็กอย่าง
คอมพ์ซอกเนธัสมาก แต่มีความแตกต่างที่น่าตกใจมากคือมันมีขอนแบบขนนก เรียกว่า
อาร์คีออปเทอริกซ์ ในปัจจุบันเชื่อว่ามันคือจุดกึ่งกลางของวิวัฒนาการจากไดโนเสาร์นักล่าขนาดเล็กไปสู่นก ดังนั้นไดโนเสาร์อาจไม่ได้หายไปจากโลกนี้เสียทีเดียว และยังคงมีชีวิตอยู่รอบๆ
ตัวเรา นักวิทยาศาสตร์บางคนไม่เห็นด้วยกันทฤษฏีนี้ แต่ไม่นานมานี้นักโบราณชีววิทยาได้พบ
“ไดโนเบิร์ด”(dinobird)ซึ่งมีขนแบบนกขึ้นอีก ทำให้เส้นกั้นระหว่างนกและไดโนเสาร์บางลง



ไดโนเสาร์

ไดโนเสาร์ ( Dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศน์บนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่ตริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก

คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (สัตว์เลื้อยคลาน)

หลายคนเข้าใจชอบผิดว่า ไดโนเสาร์นั้น คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริงๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น

แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง

สัตว์น้ำ



ปลาการ์ตูนส้มขาว

ลักษณะของลำตัว : มีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น อาจพบปลาการ์ตูนชนิดนี้อยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว ในกอดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูนส้มขาวพบได้บ่อยที่สุดในทะเลอันดามัน อ่าวไทยพบได้ที่เกาะโลซิน จังหวัดนราธิวาส อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่



ปลาทองเป็นสัตว์นำชนิดหนึ่งที่รูปร่างหน้าตาน่ารักเอามากๆ ปลาทองมีมากว่า 100สายพันธุ์จากทั่วมุมโลก แต่การแบ่งลักษณะปลาทองส่วนใหญ่ๆ ที่มีจะแบ่งเป็น 2 พวก คือ พวกที่ลำตัวเรียวยาวทั่วทั้งลำตัว และประเภทที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนไข่ ซึ่งประเภทที่ 2 นี้ เป็นประเภทที่วัยรุ่นหรือคนต่างๆนิยมมากที่สุด ปลาทองเป็นปลาที่ศักสิทธิ์ต่อคนจีนเป็นอย่างมาก อาหารที่ปลาทองชอบมากที่สุดคื พวกสัตว์น้ำจำพวกไรแดง ปลาทองจะอยู่น้ำได้ที่เฉพาะน้ำที่มีรสชาติจืดอย่างเดียวเท่านั้นปลาทองมีการออกลูกเป็นไข่หรือการวางไข่นั้นเอง
ซึ่งเหมือนปลาทั่วๆไปปลาทองชอบอยู่ด้วยกันเป็นหมู่กลุ่มหรือเป็นฝูง หายใจได้ด้วยเหงือกปลาทอง

ถิ่นกำเนิด : พบได้เฉพาะใน เขตมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกในบางส่วน ธรรมชาติของปลาการ์ตูนชอบอาศัยอยู่ในดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูนจะอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากดอกไม้ทะเล

การเลี้ยงดู : ปลาการ์ตูนเป็นปลาทะเล ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมการค่อนข้างมากในการเลี้ยงดู ที่สำคัญมาก ๆ ก็คือต้องเตรียม ” น้ำ ” โดยเราสามารถหาน้ำที่จะมาเลี้ยงได้จาก

1.น้ำทะเลธรรมชาติ-ต้องมีความเค็มประมาณ 28-33 ppt ควรเป็นน้ำที่ตักมาใหม่ ๆ โดยห้ามใช้น้ำชายหาด ต้องออกไปเก็บน้ำทะเลที่ห่างจากชายหาดประมาณ 9-10 กิโลเมตร เพื่อป้องกันน้ำที่ไม่สะอาดจากสิ่งแวดล้อมชายหาดไม่ว่าจะเป็นมลพิษจากเรือหรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ

2.น้ำทะเลสังเคราะห์-เป็นเกลือที่ผสมเสร็จแล้วตามหลักเคมี สามารถใช้ผสมกับน้ำจืดตามอัตราส่วนที่แนะนำไว้ มีส่วนผสมดังนี้

-น้ำ 96.4 %
-แคลเซียมซัลเฟต(CaSO4) 0.1 %
-โพแตสเซียมคลอไรด์(KCL) 0.1 %
-แมกนีเซียมคลอไรด์(MgCl) 0.4 %
-แมกนีเซียมซัลเฟต(MgSO4) 0.2 %
-เกลือธรรมดา(NaCl) 2.8 %

*** การเปลี่ยนถ่ายน้ำจะต้องถ่ายน้ำ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยที่ไม่ต้องนำปลาออกจากตู้ โดยใช้วิธีกาลักน้ำ***

*การทำความสะอาดบริเวณด้านข้างตู้ ควรใช้ทรายล้างด้านในตู้เดือนละ 1 ครั้ง (ต้องนำปลาออกจากตู้ก่อนทำการล้างทุกครั้ง) ควรใช้ตู้ขนาด 24 นิ้วเป็นอย่างต่ำ และควรมีระบบกรองน้ำ แบบกรองข้างหรือกรองล่าง เป็นต้น




ปลาเทพา

ชื่อสามัญ=chao phraya giant catfish
ชื่อทางวิทยาศาสตร์=pangasius sanitwongsei
ปลาเทพา เป็นปลาที่มีขนาดถึง2.5 เมตร มีนํ้าหนักมากกว่า100 กิโลกรัม
เป็นปลากินสัตว์ที่เล็กกว่า ปลาเทพาอาศัยอยู่ที่ประเทศไทยเเละประเทศอินโดจีน
ชอบความสงบสวนมากจะเห็นอยู่กันเป็นฝูงเเละจะว่ายนํ้าตลอดเวลา
สามารถเห็นได้ที่สวนสัยว์เชียงใหม่




ม้าน้ำ

เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำแต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกปลา
ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแทนท่ตัวเมียจะอุ้มทองแต่กลับต้องเป็นตัวผู้
การออกลูกจะออกลูกเป็นไข่ที่ละหลายๆฟอง ม้าน้ำจะอาศัยอยู่ในทะเลอยู่ตามปะการัง
และสาหร่าย วงจรชีวิตของม้าน้ำจะแตกต่างจากปลามาก จะมีคลีบอยู่ที่หูใช้ในการว่าย
ม้าน้ำจะมีหางที่ยาวเรียวใช้เกาะจับสิ่งของต่างๆและใช้เกาะตัวเมียในการผสมพันธุ์และหางของ
ม้าน้ำยังสามารถงอได้อีกด้วย ม้าน้ำมีอยู่หลายชนิดและทุกชนิดจะมีรูปร่างลักษณะประมาณนี้
ในการผสมพันธุ์ม้าน้ำจะผสมพันธุ์กันในตอนเช้าถึงตอนเที่ยงด้วยที่ตัวผู้จะว่ายเข้าไปใกล้กับตัวเมีย
แล้วใช้หางมัดแล้วดึงเข้ามาหาตัวแล้วจึงเริ่มแอ่นอกงอหัวลงมาเรื่อยๆจนหัวชิดกับหน้าอกของ
ตัวเองแล้วใช้แรงบีบถุงหน้าท้องจนเปิดช่องแสดงว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์แล้วถ้าหากตัวเมีย
เปลี่ยนสีลำตัวจากนั้นจึงว่ายหันข้างไปด้วยกันแสดงว่าตกลง และถ้าหากตัวเมียมีอาการหนีหรือ
สลัดตัวออกจากตัวผู้แสดงว่าไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ในการอุ้มท้องตัวผู้จะอุ้มท้องอยู่ประมาณ
2สัปดาห์แล้วตัวผู้และตัวเมียจะอยู่ด้วยกันตลอดเวลาจนกว่าจะวางไข่แล้วลูกของตนจะเติบโตขึ้นมา





ปลาทอง

ปลาทองเป็นสัตว์นำชนิดหนึ่งที่รูปร่างหน้าตาน่ารักเอามากๆ ปลาทองมีมากว่า 100สายพันธุ์จากทั่วมุมโลก แต่การแบ่งลักษณะปลาทองส่วนใหญ่ๆ ที่มีจะแบ่งเป็น 2 พวก คือ พวกที่ลำตัวเรียวยาวทั่วทั้งลำตัว และประเภทที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนไข่ ซึ่งประเภทที่ 2 นี้ เป็นประเภทที่วัยรุ่นหรือคนต่างๆนิยมมากที่สุด ปลาทองเป็นปลาที่ศักสิทธิ์ต่อคนจีนเป็นอย่างมาก อาหารที่ปลาทองชอบมากที่สุดคื พวกสัตว์น้ำจำพวกไรแดง ปลาทองจะอยู่น้ำได้ที่เฉพาะน้ำที่มีรสชาติจืดอย่างเดียวเท่านั้นปลาทองมีการออกลูกเป็นไข่หรือการวางไข่นั้นเอง
ซึ่งเหมือนปลาทั่วๆไปปลาทองชอบอยู่ด้วยกันเป็นหมู่กลุ่มหรือเป็นฝูง หายใจได้ด้วยเหงือกปลาทอง

สัตว์จำพวกนก



นกเงือก

วงศ์นกที่มีจำนวนชนิดและความหลากหลายมาก ลักษณะโดยทั่วไปปากจะแบน ฐานปากกว้าง ขาสั้น เรียว ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกัน ตัวผู้มีสีสันสดใสและง่ายต่อการจำแนกชนิดมากกว่า ตัวเมียซึ่งจะมีสีทึบ ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยจะมีขนเป็นจุดแต้มลายพร้อย กินแมลงเป็นอาหาร
หลายชนิดชอบเกาะคอนในลักษณะของลำตัวตั้งตรงในบริเวณพื้นที่โล่ง จับแมลงในขณะที่กำลังบินด้วยความรวดเร็วและรวบรัด ในขณะที่ชนิดอื่นๆหากินอยู่ใกล้ผิวดินตามเรือนยอดไม้ชั้นล่างในป่า จับแมลงที่อาศัยตามใบไม้กินเป็นอาหาร ส่วนใหญ่มีเสียงร้องที่หวานแหลมและรัว ทำรังรูปถ้วยตามกิ่งไม้ โพรงไม้ หรือแม้แต่โพรงถ้ำ ทั่วโลกมี 182 ชนิด พบในไทย 39 ชนิด มี 5 เหล่า

เหล่านกจับแมลงป่า (Jungle flycatchers)
เหล่านกจับแมลงสีน้ำตาล (Brown flycatchers)
เหล่านกจับแมลงแท้ (Typical flycatchers)
เหล่านกนิลตวา (Niltavas)
เหล่านกจับแมลงสีฟ้า (Blue flycatchers)




นกกระเต็น

ปากใหญ่ ยาว ลักษณะเหมือนกริช(ดาบสองคม) หัวโต ลำตัวกะทัดรัด ขาสั้น หางสั้น ส่วนใหญ่มีสีสันสดใส ชอบเกาะสายไฟ กิ่งไม้ ในที่โล่ง รูปแบบการเกาะลำตัวเกือบตั้งตรง ส่วนมากจะจับปลาหรือสัตว์น้ำเป็นอาหาร โดยการโฉบเป็นแนวตรงและดำลงไปในน้ำ บางชนิดกินแมลงหรือสัตว์บกขนาดเล็กอื่นๆซึ่งจะหากินไกลออกไปจากแหล่งน้ำ เกือบทั้งหมดเป็นนกที่อาศัยอยู่ในป่าห่างไกลจากแหล่งชุมชน
ลักษณะการบินจะบินเร็ว และบินเป็นแนวตรง มีบางชนิดที่บินแบบโฉบไปโฉบมา ปกติจะพบอยู่เดี่ยวหรือเป็นคู่ เสียงร้องดัง เสียงเล็กแหลม ส่วนใหญ่ทำรังในโพรงบนพื้นดินหรือตามหน้าผาสูง บางชนิดอาศัยโพรงต้นไม้ ทั่วโลกมี 86 ชนิด ในประเทศไทยพบ 15 ชนิด



วงศ์นกหัวขวาน

เป็นนกที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ โดยจะใช้ขนแข็งที่หางเหนี่ยวลำต้นไม้เอาไว้ มีปากตรง ยาว คล้ายปลายสิ่ว เอาไว้ใช้เจาะรูหรือโพรงของแมลง ตัวหนอน ทั้งที่อาศัยอยู่ใต้เปลือกไม้และเนื้อไม้ หลายชนิดกินมดเป็นอาหาร บางครั้งจะลงมาจับบนพื้นดินด้วย
เวลาบินจะโถมตัวขึ้นๆลงๆเป็นคลื่น เวลาร่อนจะหุบปีกลง โดยปกติจะมีอาณาเขตหรือแบ่งพื้นที่หากินกันอย่างชัดเจน ร้องเสียงดังรัวเหมือนตีกลอง ทำรังโดยการเจาะโพรงบนต้นไม้ ทั่วโลกมี 200 ชนิด เมืองไทยพบ 36 ชนิด



กลุ่มนกนางแอ่น มีด้วยกัน 3 วงศ์

มองผิวเผินคล้ายกับวงศ์นกนางแอ่น แต่จะมีปีกที่เรียวยาวกว่า บินได้เร็วมาก จับแมลงที่บินใน
อากาศเป็นอาหาร เป็นนกที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในอากาศแม้กระทั่งเวลาผสมพันธุ์ บางชนิดจะพบว่าหลับในขณะที่บินอยู่ด้วย ไม่ค่อยเกาะกิ่งไม้หรือสายไฟเหมือนวงศ์นกนางแอ่น มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเร็วมาก เวลามีพายุฝนฟ้าคะนองมักลงบินต่ำหรือเล่นน้ำ ทำให้ง่ายต่อการสังเกตุชนิด จัดเป็นนกที่บินเร็วที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ตัวผู้กับตัวเมียไม่แตกต่างกัน ทั่วโลกมี 80 ชนิด เมืองไทยพบ 12 ชนิด



วงศ์นกกระจ้อยและนกกระจิ๊ด

นกกินแมลงขนาดเล็ก ปากเรียว ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยขนไม่มีจุดแต้ม มีขาที่เรียวกว่าและไม่แข็งแรงเท่าวงศ์นกกินแมลงโลกเก่า (Babblers) บางชนิดเป็นนกอพยพหรือย้ายถิ่นมาจากระยะไกล ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ทั่วโลกมี 362 ชนิด เมืองไทยพบ 58 ชนิด มี 9 เหล่า

เหล่านกกระจ้อย (Flycatcher- warblers)
เหล่านกกระจิ๊ด (Leaf warblers)
เหล่านกพง (Reed-warblers)
เหล่านกพงตั๊กแตน (Grasshopper-warblers)
เหล่านกพงหญ้าและนกยอดข้าวหางแพน (Grass-warblers)
เหล่านกกระจิบหญ้า (Prinias)
เหล่านกกระจิบ (Tailorbirds)
เหล่านกจุนจู๋ (Tesias)
เหล่านกกระจ้อยพงหญ้า (Bush-warblers)

สัตว์เลื้อยคลาน



จระเข้
ลักษณะทั่วไป

ลักษณะของหัวยาวเพรียว ไม่มีเกล็ดท้ายทอย 4 เกล็ดให้เห็น ขาหลังมีพังผืดยึดนิ้วทั้ง 5 ซึ่งเห็นได้ชัดเจน และพังผืดยาวจรดปลายนิ้ว มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาจระเข้ ตัวใหญ่ที่สุดที่เคยพบยาว 7 เมตร

ลักษณะนิสัย

มีนิสัยดุร้ายมาก กินคนเป็นอาหารได้ อาศัยอยู่ในที่ลุ่ม หนอง บึง และแม่น้ำที่ไม่มีบ้านเรือนตั้งอยู่

ถิ่นอาศัย

อาศัยอยู่ตั้งแต่ฝั่งทะเลตะวันออกของอินเดีย ถึง ฟิลลิปินส์ และทางเหนือของออสเตรเลีย ทางใต้ของไทยและมาเลเซีย

อาหาร

โดยปกติแล้วลูกจระเข้น้ำเค็มกินปลา แมลง ปู กบ ส่วนตัวที่โตเต็มวัยจะกินสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หมู รวมทั้งคนก็กินได้

การสืบพันธุ์

จระเข้น้ำเค็มจะเริ่มไข่ได้เมื่ออายุ 12 - 15 ปี มีความต้องการสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากจระเข้น้ำจืด ตั้งแต่ต้องการบ่อที่กว้างกว่า ในบางครั้งต้องการน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม ผสมพันธุ์ในฤดูหนาว ผสมพันธุ์ปีละครั้ง ออกไข่ในหลุมดินในช่วงฤดูร้อนหรือต้นฤดูฝน ฟักไข่ในหลุมดินประมาณ 11 สัปดาห์ วางไข่ครั้งละ 60 - 80 ฟอง

สถานภาพปัจจุบัน

สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



เต่าหกดำ

ลักษณะทั่วไป

เป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย กระดองยาว ๒ ฟุต หนัก ๓๐ -๔๐ กิโลกรัม มีสีดำหรือน้ำตาลดำ กระดองโค้งสูงมาก ขาหน้าด้านบนมีเกล็ดใหญ่ ๆขาหลังสั้นทู่มีเล็บกลมใหญ่ มีเดือยอยู่ระหว่างขาหลังกับหางข้างละอัน เดือยมีกระดูกอยู่ข้างใน สำหรับใช้ยันพื้นดินเวลาปีนขึ้นที่สูงจึงดูคล้ายมีขาเพิ่มอีก ๒ ขา เป็นหกขา จึงเรียกว่า ?เต่าหก?

ลักษณะนิสัย

ชอบดินที่มีความชื้นสูง ดินแห้งแข็งไม่ชอบ ชอบขุดหลุมซุกตัวเองอยู่ในดิน หรือแอ่งดินที่มีน้ำขัง ชอบอยู่ตามภูเขา ตามพื้นราบไม่ค่อยพบ ถ้าเลี้ยงบนพื้นซีเมนต์ต้องมีน้ำให้ตลอดเวลา เพื่อให้ตัวเปียกชื้น เต่าหกนี้ถ้าเลี้ยงให้ถูกวิธีจะมีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี

ถิ่นอาศัย

พบในพม่า อัสสัม สำหรับประเทศไทยพบทางตอนเหนือ และทางด้านตะวันตก เช่น จังหวัด ตาก กาญจนบุรี และพบตามเทือกเขาตะนาวศรีจากเหนือจรดใต้

อาหาร

พืชผัก ผลไม้ หัวเผือก หัวมัน รวมทั้งหอยต่างๆ และทาก

การสืบพันธุ์

วางไข่ครั้งละประมาณ 50 ฟอง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

เสือโคร่ง
ลักษณะทั่วไป

เป็นเสือชนิดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนสีเหลืองปนเทาหรือเหลืองปนน้ำตาล มีลาย ดำยาวพาดขวางทั้งตัว หางก็มีลายดำพาดขวางทั้งตัว ดูคล้ายเป็นปล้อง ๆ ปลายหางดำหลังหูดำ มีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด


ลักษณะนิสัย


ว่ายน้ำและขึ้นต้นไม้ได้ แต่ปกติไม่ชอบขึ้นต้นไม้ ชอบน้ำมากกว่าเสือชนิดอื่น วันที่อากาศร้อนแช่อยู่ในน้ำได้เป็นชั่วโมง

ถิ่นอาศัย


ไซบีเรีย ทะเลแคสเปียน อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย ไทย ประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค และมีชุกชุมในป่าแถบแนวเทือกเขาตะนาวศรี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อาหาร

สัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะหมูป่าและกวางเป็นสัตว์ที่ชอบกินมาก

การสืบพันธุ์


ระยะตั้งท้องนาน 105-110 วัน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว

สถานภาพปัจจุบัน

สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535




ลิงวอก

ลักษณะทั่วไป

ลำตัวส่วนหลังสีน้ำตาล ส่วนอื่นเป็นสีน้ำตาลเทา หางสั้นประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว โคนหางค่อนข้างใหญ่และเรียวเล็กลงไปทางปลายหาง แต่หางสั้นกว่าลิงแสม ขนบริเวณสองข้างแก้มม้วนวนเป็นก้นหอย



ลักษณะนิสัย
เป็นลิงที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีตัวผู้แก่เป็นจ่าฝูง ชอบอยู่ตามป่าที่มีโขดหิน หรือหน้าผาและเป็นป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ออกหากินบริเวณใกล้เคียงกับที่อาศัย ชอบลงมาเดินบนพื้นดิน เป็นลิงที่เชื่องและไม่ค่อยกลัวคน



ถิ่นอาศัย
พนในประเทศไทย พม่า อินเดีย อัสสัม เนปาล อัฟกานิสถาน จีน และอินโดจีน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ



อาหาร
ลิงวอกกินผัก ผลไม้ ใบไม้อ่อน แมลงต่างๆ รวมทั้งสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร



การสืบพันธุ์
ลิงวอกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว



สถานภาพปัจจุบัน

สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535






กวางป่า (กวางม้า)

ลักษณะทั่วไป
เป็นกวางขนาดใหญ่ ขนยาวหยาบมีสีน้ำตาลเข้ม ขนบริเวณคอจะยาวขึ้นหนาแน่น กว่าที่อื่น ๆ ลูกกวางป่าเกิดใหม่จะไม่มีจุดขาว ๆ ตามตัวเช่นในลูกเนื้อทรายหรือกวางดาว หางค่อนข้าง สั้น มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขามีข้างละ 3 กิ่ง เขาที่ขึ้นครั้งแรกมีกิ่งเดียว เมื่อเขาแรกหลุดเขาที่ขึ้นใหม่ มี 2 กิ่ง เมื่อเขา 2 กิ่งหลุด เขาที่ขึ้นใหม่มี 3 กิ่ง ปีต่อไปเมื่อผลัดเขาใหม่จะมีเพียง 3 กิ่งเท่านั้น ไม่เพิ่มมากกว่านี้ ผลัดเขาทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม หรือ เดือนเมษายน เขาแก่ในเดือนพฤศจิกายน มีแอ่งน้ำตาที่หัวตาทั้ง 2 ข้าง ขนาดใหญ่มากยื่นออกมาให้เห็นชัดเจน ยิ่งในฤดูผสมพันธุ์แอ่งนี้จะยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกและขับสารที่มีกลิ่นแรงมากออกมาเป็นประโยชน์ในการดมกลิ่นตามหากัน หู ตา จมูกไวมาก
ลักษณะนิสัย
ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว นอกจากฤดูผสมพันธุ์ ออกหากินตั้งแต่ตอนเย็นถึงเช้าตรู่ ส่วนกลางวันจะนอนในที่รกทึบ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทั่วไปรวมทั้งป่าทึบ ชอบออกมาหากินอยู่ตามริมทาง ลำธาร และทุ่งโล่ง ชอบนอนแช่ปลักโคลนเหมือนกระบือเพื่อป้องกันแมลง ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะดุร้ายและหวงตัวเมียมาก ช่วงนี้ตัวผู้จะต่อสู้กันอย่างดุร้ายเพื่อแย่งตัวเมีย ว่ายน้ำเก่งและปราดเปรียว มันไม่ชอบช้างและกลิ่นของช้าง
ถิ่นอาศัย
พบตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย เนปาล พม่า ไทย อินโดจีนตอนใต้ มาเลเซีย สุมาตรา ชวา บอร์เนียว เซลีเบส ไต้หวัน ไหหลำ ฟิลิปปินส์ อัสสัม สำหรับประเทศไทย พบตามป่าดงดิบ ทั่วไปทุกภาคทั้งป่าสูงและป่าต่ำ
อาหาร
ชอบกินใบไม้ และยอดอ่อนของพืชมากกว่าหญ้า อาหารในธรรมชาติของกวางได้แก่ เถาวัลย์อ่อน ๆ ยอดอ่อนของไม้พุ่มเตี้ย ๆ ใบไม้หญ้าระบัด ใบไผ่ ชอบกินดินโป่งมาก

การสืบพันธุ์
ฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมตั้งท้องนาน ประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ในช่วงต้นฤดูฝน ลูกกวางจะเริ่มแยกจากแม่ไปหากินตามลำพัง เมื่ออายุราว 1 ปี หรือ 1 ปี กว่า และโตพร้อมผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 18 เดือน อายุยืนประมาณ 15-20 ปี

สถานภาพปัจจุบัน
สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535